1. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งของตำบล
 
ตำบลดูนสาด  มีเนื้อที่ประมาณ ๖๓.๑๘  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๙,๔๘๗.๔๓ ไร่

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองกุงศรี ภูเค็ง อำเภอท่าคันโท   จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้  ติดต่อกับตำบลหนองโก  อำเภอกระนวน  จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านฝาง  ตำบลหัวนาคำ  อำเภอกระนวน  จังหวัดขอนแก่น

๑.๑ ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลดูนสาดเป็นที่ดอน เป็นที่ราบสูง
๑.๒ ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปมีสภาพอากาศแบ่งเป็นสามฤดู คือ ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ -พฤษภาคม)  ฤดูฝน(พฤษภาคม – ตุลาคม)  ฤดูหนาว(พฤศจิกายน – มกราคม)
๑.๓ ลักษณะของดิน
ดินในที่สูงและภูเขา เป็นดินเขตร้อนที่มีสีแดงเหลือง เนื้อดินหยาบจนถึงเป็นลูกรัง ชั้นดินบาง     มีหินทราย หินกรวดหรือหินดินดาน 
๑.๔ ลักษณะของแหล่งน้ำ
      แหล่งน้ำธรรมชาติ 
 ลำห้วยสายบาตรเล็ก  ไหลผ่าน หมู่ ๓  หมู่ ๙
 ลำห้วยสายบาตรใหญ่  ไหลผ่าน หมู่ ๔  หมู่ ๗
 ลำห้วยคลองชัย  ไหลผ่าน หมู่ ๘ 
 ลำห้วยทับย้อ   ไหลผ่าน  หมู่  ๓
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
          ประปาหมู่บ้าน  มีจำนวน  8 แห่ง
๑.๕ ลักษณะของไม้/ป่าไม้
ลักษณะของไม้เป็นประเภท ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มสลับดอนมีความชุ่มชื้นน้อย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๐๐ -๖๐๐ เมตร  ไม้ที่สำคัญได้แก่  มะคาโมง  ยางนา  พยอม  ตะเคียนแดง  กระเบากลัก และตาเสือ

2. ด้านการเมืองการปกครอง

๒.๑ เขตการปกครอง แบ่งเป็น ๑๑ หมู่บ้าน

               หมู่ที่ ๑ บ้านดูนสาด           ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสุนันต์ บุญหล้า

               หมู่ที่ ๒ บ้านโนนสวรรค์              ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายชูเกียรติ แสนพลี

               หมู่ที่ ๓ บ้านตอประดู่         ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายศักดิ์ นิลผาย

               หมู่ที่ ๔ บ้านนามูล             ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายวีระ ทองน้อย

               หมู่ที่ ๕ บ้านทรัพย์สมบูรณ์  ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญมี ลาสุนนท์

               หมู่ที่ ๖ บ้านตอประดู่          ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายลำพรรณ บุญเรือง

               หมู่ที่ ๗ บ้านนามูล             ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายนิรันดร อ่อนสาคร

               หมู่ที่ ๘ บ้านคลองชัย        ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจำเนียร แสงผา

               หมู่ที่ ๙ บ้านภูถ้ำเม่น          ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายมงกฏ เพ็ชรนอก

               หมู่ที่ ๑๐ บ้านตอประดู่               ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายทองแดง ทองประเสริฐ

               หมู่ที่ ๑๑ บ้านตอประดู่               ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสินธนู นนทศิริ     

3. ประชากร

๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ตำบลดูนสาด

       

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวน(ครัวเรือน)

หญิง

ชาย

รวม

บ้านดูนสาด

๑๖๒

๓๐๒

๓๐๖

๖๐๘

บ้านโนนสวรรค์

๒๒๙

๔๕๐

๔๐๙

๘๕๙

บ้านตอประดู่

๒๓๐

๓๒๙

๓๒๒

๖๕๑

บ้านนามูล

๓๖๙

๕๘๒

๕๙๐

๑,๒๗๒

บ้านทรัพย์สมบูรณ์

๑๖๖

๒๑๒

๒๑๓

๔๒๕

บ้านตอประดู่

๒๓๐

๓๔๘

๔๐๔

๗๘๘

บ้านนามูล

๔๐๖

๗๕๘

๖๖๘

๑,๔๒๑

บ้านคลองชัย

๑๒๒

๑๕๘

๑๔๖

๓๐๔

บ้านภูถ้ำเม่น

๑๕๘

๓๐๔

๒๖๙

๕๗๓

๑๐

บ้านตอประดู่

๑๗๔

๒๖๖

๒๘๙

๕๕๕

๑๑

บ้านตอประดู่

๒๐๐

๔๐๑

๓๘๓

๗๘๔

 

       ๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร

 

หญิง (คน)

ชาย (คน)

หมายเหตุ

จำนวนประชากรเยาวชน

๑๐๑๙

๙๘๗

อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี

จำนวนประชากร

๒,๖๖๓

๒.๕๒๙

อายุ ๑๘-๖๐ ปี

จำนวนประชากรผู้สูงอายุ

๔๕๙

๔๑๖

อายุมากว่า ๖๐ ปี

รวม

๔,๐๔๑

๓,๙๙๘

ทั้งสิ้น ๘,๑๓๙ คน

 

4.สภาพทางสังคม

๔.๑ การศึกษา

             มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ แห่ง คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนามูล และโรงเรียน ๒ แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอนแก่น เขต ๔ คือ โรงเรียนนามูลวิทยาคม โรงเรียนชุมชนดูนสาด

                            ตารางเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา

                                                         ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนามูล

                      (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน ๒๕๖๓)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ชาย

หญิง

๔๖

๔๔

รวม

๙๐

 

ปัจจุบันมีบุคลากรดังนี้

  • บุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  1. ครูดูแลเด็กเล็ก     จำนวน     ๓   คน
  2. ผู้ดูแลเด็ก            จำนวน     ๑   คน
  3. นักการภารโรง      จำนวน         ๑   คน
  4. แม่บ้าน        จำนวน         ๑   คน

๔.๒ การสาธารณสุข

๔.๒.๑ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดูนสาด ๑ แห่ง

การบริการด้านสาธารณสุข อาคารสถานที่ในการให้บริการ ยังไม่พอกับความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ

๔.๒.๒ อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ     ๑๐๐   เปอร์เซ็นต์

        ๔.๓ อาชญากรรม

        ๔.๔ ยาเสพติด

        ๔.๕ การสังคมสงเคราะห์

6.ระบบเศรษฐกิจ

๖.๑ การเกษตร

                โดยสภาพทั่วไปของตำบลมีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ยางพารา พริก ยางพาราส่วนใหญ่ปลูกบนที่ดิน เนิน

        ๖.๒ การประมง -

        ๖.๓ การปศุสัตว์

               ปศุสัตว์ เกษตรกรจะเลี้ยงไว้เพื่อบริโภค นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายบ้าง โดยทำเป็นอาชีพเสริม สัตว์ที่นิยมเลี้ยงแก่ โค กระบือ สุกร เป็ดและไก่ เป็นต้น

        ๖.๔ การบริการ

               ธนาคาร                    ๐      ไม่มี

               โรงแรม/รีสอร์ท                ๒    แห่ง

        ปั๊มน้ำมัน                 ๕       แห่ง

โรงผลิตน้ำ                       ๒       แห่ง

โรงสีข้าว                 ๗       แห่ง

โรงฆ่าสัตว์               ๑       แห่ง

ตลาด                     ๒       แห่ง

ร้านค้า                   ๗๐         แห่ง

        ๖.๕ การท่องเที่ยว

               ตำบลดูนสาดมีแหล่งท่องเที่ยว ๑ แห่ง ได้แก่ ไร่สตรอเบอรี่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ บ้านภูถ้ำเม่น

        ๖.๖ การอุตสาหกรรม

               โรงผลิตน้ำ               ๑     แห่ง

        ๖.๗ การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ

- กลุ่มงานอาชีพ มีดังนี้

                              กลุ่มเลี้ยงปลา หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๕

                              กลุ่มสตรีเกษตร หมู่ที่ ๑

                              กลุ่มปลูกพริก หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑

                             กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน หมู่ที่ ๒

                              กลุ่มเลี้ยงเป็ดพันธ์เนื้อ หมู่ที่ ๓

                              กลุ่มเลี้ยงสุกร หมู่ที่ ๓

                              กลุ่มเลี้ยงปลาดุกและกบในครัวเรือน หมู่ที่ ๓

กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงโคนม หมู่ที่ ๕

                              กลุ่มสวนยางพารา หมู่ที่ ๕

                              กลุ่มปลูกอ้อย หมู่ที่ ๑๑

 

        ๖.๘ แรงงาน

               การใช้แรงงานจะเน้นในการประกอบอาชีพภาคการเกษตรเป็นหลักไม่ว่าจะทำเองหรือรับจ้างกรีดยาง และใช้แรงงานในด้านอื่น ๆ

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

๗.๑ การนับถือศาสนา นับถือศาสนาพุทธ

วัด ๑๓ แห่ง

         วัดเสาวคนธ์วราราม                ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ บ้านดูนสาด

         วัดกลางสามัคคีธรรม              ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๖ ,๑๐ บ้านตอประดู่

         วัดใหม่ดงมูลวราราม              ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ,๑๑ บ้านตอประดู่

         วัดนามูลพุทธาวาส                ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ,๗ บ้านนามูล

         วัดบุญประเสริฐอุดมธรรม        ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕   บ้านทรัพย์สมบูรณ์

         วัดคลองชัยพุทธาวาส             ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๘   บ้านคลองชัย

         วัดเทพนิมิตรวราราม              ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๙   บ้านภูถ้ำเม่น

วัดถ้ำน้ำรินทร์                   ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๙   บ้านภูถ้ำเม่น

วัดบารมีธรรม                    ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๙   บ้านภูถ้ำเม่น

         วัดถ้ำม่วงธรรมสิริ                    ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓   บ้านตอประดู่

         วัดป่าภูน้ำป๊อก                ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๘   บ้านคลองชัย

         วัดป่าภูสวรรค์                 ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๘   บ้านคลองชัย

        วัดภูเขาน้อยรุ่งเรืองธรรม            ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๘   บ้านคลองชัย

 

        ๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี

 

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานที่ดำรงชีพอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แห้งแล้งกันดารนั้น ในความเชื่อต่อการดำเนินชีวิตที่มีความผาสุกและเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นแก่ครอบครัวและบ้านเมืองก็ต้องมีการประกอบพิธีกรรม มีการเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และร่วมทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนาด้วยทุกๆเดือนในรอบปีนั้นมีการจัดงานบุญพื้นบ้านประเพณีพื้นเมืองกันเป็นประจำ จึงได้ถือเป็นประเพณี ๑๒ เดือนเรียกกันว่า ฮีตสิบสอง ถือกันว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน คติความเชื่อในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวพันกับการเกษตรกรรม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อการดำรงชีวิต ชาวอีสานจึงมีงานบุญพื้นบ้านมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีงานประเพณีพื้นบ้านมากที่สุดในประเทศ ฮีตสิบสองเดือนหรือประเพณีสิบสองเดือนนั้น ชาวอีสานร่วมกันประกอบพิธีนับแต่ต้นปี คือ 

 

 

เดือนอ้าย หรือเดือนเจียง งานบุญเข้ากรรม มีงานบุญดอกผ้า (นำผ้าห่มหนาวไปถวายสงฆ์) ประเพณีเส็งกลอง ทำลานตี(ลานนวดข้าว)ทำปลาแดก (ทำปลาร้าไว้เป็นอาหาร) เกี่ยวข้าวในนา เล่นว่าว ชักว่าวธนู นิมนต์พระสงฆ์เข้าประวาสกรรม ตามประเพณีนั้นมีการทำบุญทางศาสนา เพื่ออนิสงค์ทดแทนบุญคุณต่อบรรพบุรุษ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถน ผีบรรพบุรุษ มีการตระเตรียมเก็บสะสมข้าวปลาอาหารไว้กินในยามแล้ง  เดือนยี่ งานบุญคูนลาน ทำบุญที่วัด พระสงฆ์เทศน์เรื่องแม่โพสพ ทำพิธีปลงข้าวในลอมและฟาดข้าวในลาน ขนข้าวเปลือกขึ้นเล้า (ยุ้งฉาง) นับเป็นความเชื่อในการบำรุงขวัญและสิริมงคลทางเกษตรกรรม มีทั้งทำบุญที่วัดและบางครั้งทำบุญที่ลานนวดข้าว เมื่อขนข้าวใส่ยุ้งแล้วมักไปทำบุญที่วัด  เดือนสาม บุญข้าวจี่ มีพิธีเลี้ยงลาตาแฮก (พระภูมินา) เพราะขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว งานเอิ้นขวัญข้าวหรือกู่ขวัญข้าว เพ็ญเดือนสามทำบุญข้าวจี่ตอนเย็นทำมาฆบูชา ลงเข็นฝ้ายหาหลัวฟืน (ไม้เชื้อเพลิงลำไม้ไผ่ตายหลัว กิ่งไม้แห้ง-ฟืน) ตามประเพณีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งแล้ว มีการทำบุญเซ่นสรวงบูชาเจ้าที่นา ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าตาแฮก และทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้ผีปู่ย่าตายาย อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยการทำข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนสอดไส้น้ำตาลหรือน้ำอ้อยชุบไข่ปิ้งจนเหลือง) นำไปถวายพระพร้อมอาหารคาวหวานอื่นๆ  เดือนสี่ บุญพระเวส (อ่านออกเสียงพระ-เหวด) มีงานบุญพระเวส (ฟังเทศน์มหาชาติ) แห่พระอุปคุตตั้งศาลเพียงตา ทำบุญแจกข้าวอุทิศให้ผู้ตาย (บุญเปตพลี) ประเพณีเทศน์มหาชาติเหมือนกับประเพณีภาคอื่นๆ ด้วย เป็นงานบุญทางพุทธศาสนาที่ถือปฏิบัติทำบุญถวายภัตตาหารแล้วตอนบ่ายฟังเทศน์ เรื่องเวสสันดรชาดก ตามประเพณีวัดติดต่อกัน ๒-๓ วันแล้วแต่กำหนดในช่วงที่จัดงานมีการแห่พระอุปคุตเพื่อขอให้บันดาลให้ฝนตกด้วย  เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือเทศกาลสงกรานต์ ชาวอีสานเรียกกันว่า สังขานต์ ตามประเพณีจัดงานสงกรานต์นั้น บางแห่งจัดกัน ๓ วัน บางแห่ง ๗ วัน แล้วแต่กำหนดมีการทำบุญถวายภัตตาหารคาวหวาน หรือถวายจังหันเช้า-เพลตลอดเทศกาล ตอนบ่ายมีสรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ผู้เฒ่าก่อเจดีย์ทราย เดือนหก บุญบั้งไฟ บางแห่งเรียก บุญวิสาขบูชา มีงานบุญบั้งไฟ (บุญขอฝน) บุญวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก เกือบตลอดเดือนหกนี้ ชาวอีสานจัดงานบุญบั้งไฟ จัดวันใดแล้วแต่คณะกรรมการหมู่บ้านกำหนดถือเป็นการทำบุญบูชาแถน (เทวดา) เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารในปีต่อไปครั้นวันเพ็ญหก เป็นงานบุญวิสาขบูชาประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา มีการทำบุญฟังเทศน์และเวียนเทียนเพื่อผลแห่งอานิสงส์ในภพหน้า  เดือนเจ็ด บุญชำฮะ มีพิธีเลี้ยงตาแฮก ปู่ตา หลักเมือง งานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง งานเข้านาคเพื่อบวชนาค คติความเชื่อหลังจากหว่านข้าวกล้าดำนาเสร็จ มีการทำพิธีเซ่นสรวงเจ้าที่นา เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ข้าวกล้าในนางอกงาม บ้านที่กุลบุตรมีงานอุปสบททดแทนบุญคุณบิดามารดาและเตรียมเข้ากรรมในพรรษา

เดือนแปด งานบุญเข้าพรรษา มีพิธีหล่อเทียนพรรษางานบุญเทศกาลเข้าพรรษา แต่ละหมู่บ้านช่วยกันหล่อเทียนพรรษา ประดับให้สวยงาม จัดขบวนแห่เพื่อนนำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีการทำบุญถวายภัตตาหาร เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน เพื่อพระสงฆ์จะได้นำไปใช้ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน จัดงานวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ นับแต่เช้ามืด ชาวบ้านจัดอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่ใส่กระทงเล็กๆ นำไปวางไว้ตามลานบ้าน ใต้ต้นไม้ ข้างพระอุโบสถ เพื่อเป็นการให้ทานแก่เปรตหรือวิญญาณที่ตกทุกข์ได้ยากตอนสายมีการทำบุญที่วัด ฟังเทศน์เป็นอานิสงส์ เดือนสิบ บุญข้าวสาก ข้าวสากหมายถึงการกวนกระยาสารท คล้ายงานบุญสลากภัตในภาคกลาง จัดงานวันเพ็ญเดือน ๑๐ นำสำรับคาวหวานพร้อมกับข้าวสาก(กระยาสารท) ไปทำบุญที่วัดถวายผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องไทยทาน แต่ก่อนที่จะถวายนั้นจะทำสลากติดไว้ พระสงฆ์องค์ใดจับสลากใดได้ก็รับถวายจากเจ้าของสำรับนั้น ตอนบ่ายฟังเทศน์เป็นอานิสงส์  เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา มีพิธีถวายผ้าห่มหนาวในวันเพ็ญ มีงานบุญตักบาตรเทโว พิธีกวนข้าวทิพย์ นับเป็นช่วงที่จัดงานใหญ่กันเกือบตลอดเดือน นับแต่วันเพ็ญ มีการถวายผ้าห่มหนาวแต่พระพุทธพระสงฆ์ วันแรม ๑ ค่ำ งานบุญตักบาตรเทโว ตอนเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีทั้งงานบุญกุศลและสนุกสนานรื่นเริง  เดือนสิบสอง บุญกฐิน ทำบุญข้าวเม่าพิธีถวายกฐินเมื่อถึงวันเพ็ญจัดทำข้าวเม่า(ข้าวใหม่)นำไปถวายพระ พร้อมสำรับคาวหวานขึ้นตอนบ่ายฟ้งเทศน์เป็นอานิสงส์จัด พิธีทอดกฐินตามวัดที่ จองกฐินไว้ งานบุญในฮีตสิบสองนั้น ตามหมู่ที่เคร่งประเพณียังคงจัดกันอย่างครบถ้วนบางแห่งจัดเฉพาะงานบุญใหญ่ๆตามแต่คณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกันจัด บางแห่งเป็นงานใหญ่ประจำปี งานบุญแห่เทียนพรรษา

 

        ๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

        ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การจับสัตว์ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องมือการเกษตร

ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือภาษาลาวอีสานเป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นภาษาลาวที่ใช้เป็นภาษาลาวเวียงจันทร์

 

        ๗.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

               ผ้าไหม เสื่อลายขิด ไม้กวาด กระติ๊บข้าวเหนียว เครื่องจักสาน ฯลฯ